ประชุมเพื่อฟื้นฟู อนุรักษ์ลำชี

 
                                      
โครงข่ายความร่วมมือสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจังหวัดสุรินทร์  ได้ประชุมกัน เมื่อวันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๕๑ ณ วัดสะเดารัตนาราม  ใต้ต้นไม้ในกลางฤดูร้อน  การประชุมครั้งนี้เพื่อยกร่างโครงการฟื้นฟูและอนุรักษ์ลำห้วยชีตอนกลาง ตำบลทุ่งมน
โพสท์ใน สุขภาพและความสุขสมบูรณ์ | ใส่ความเห็น

วัดสะเดารัตนาราม

วัดสะเดารัตนาราม   ต.ทุ่งมน  อ.ปราสาท  จ.สุรินทร์  ๓๒๑๔๐  เป็นองค์กรทางศาสนาที่ทำบทบาทด้านการพัฒนาสังคม  เป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชน   สัมพันธ์กับเครือข่ายการศึกษา   เครือข่ายสุขภาพ  เครือข่ายสิ่งแวดล้อม  เครือข่ายภาคประชาชน  เครือข่ายองค์กรชุมชน  มีกิจกรรมที่ต้องดำเนินการภายในชุมชน คือ  วัดส่งเสริมสุขภาพ  วัดปลอดเหล้าถาวร   อนุรักษ์ป่าชุมชนกำไสจาน  อนุรักษ์ลุ่มน้ำลำชีและห้วยก็วล  สภาเด็กและเยาวชนตำบลทุ่งมน  วิทยุชุมชนทุ่งมน-สมุด ๙๒.๕๐   วิทยุธรรมะ ๙๘.๗๕  กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลทุ่งมน  สภาองค์กรชุมชนตำบลทุ่งมน   งานวัฒนธรรมชุมชน  ศูนย์การเรียนรู้คู่คุณธรรมตำบลทุ่งมน   ด้านกิจกรรมระดับจังหวัด เช่น โครงการคนสุรินทร์ไม่กินสุรา   ขบวนกองบุญคุณธรรมสวัสดิการชุมชนคนสุรินทร์   คณะกรรมการกองทุนสวัสดิการสังคม  เครือข่ายเยาวชน  ฯลฯ
โพสท์ใน องค์กร | ใส่ความเห็น

สร้างอนุสาวรีย์ยายจรูก

ชาวตำบลทุ่งมน มีแนวคิดที่จะสร้างอนุสาวรีย์ยายจรูก บรรพสตรีของชาวทุ่งมน  ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญเมื่อ ๑๘๐ ปีที่แล้วมา  เป็นรูปเหมือนขี่ม้าถือแส้  และเปลี่ยนเจดีย์ให้ใหม่ จะทำให้เสร็จภายใน ๓ ปีนี้
 
โพสท์ใน ท่องเที่ยว | ใส่ความเห็น

ป่าชุมชนกำไสจาน

รางวัลลูกโลกสีเขียว ตระตุ้นให้ชุมชนเกิดการตื่นตัวในการร่วมมือกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ดิน น้ำ  ป่า     ป่าชุมชนกำไสจานมีการดำเนินกิจกรรมอนุรักษ์ป่า  น้ำ ดิน มาหลายปีแล้ว ทางคณะกรรมการจังหวัดสุรินทร์จึงให้เขียนประสบการณ์ส่งพิจารณารางวัลลูกโลกสีเขียว ประเภทชุมชน   ซึ่งจะมีการพิจาณาในเดือน พฤษภาคมนี้

โพสท์ใน ท่องเที่ยว | ใส่ความเห็น

สถานการณ์ลำชีตำบลทุ่งมน

มีคนที่เห็นแก่ตัว โดยไม่คำนึงถึงสังคมส่วนรวม  หากินด้วยการทำลายทรัพยากร  เช่นการเบื่อปลา ทำให้ปลาเล็ก ปลาใหญ่ตายเป็นเบือ  แม้ปลาไหลก็ยังตาย  ถ้าไม่รีบตื่นตัวมาแก้ไข อนาคตอาหารธรรมขาติจากลำห้วยข้างหมู่บ้านอาจจะไม่มีปลาอยู่

โพสท์ใน สุขภาพและความสุขสมบูรณ์ | ใส่ความเห็น

อวยพรปีใหม่ไทย

 
สงกรานต์วันปีใหม่ไทย    สุขสันต์ให้ใจเปรมปรีด์
อยู่เย็นอย่างสุขี            อารมณ์ดีมีปัญญา
ครอบครัวให้อบอุ่น         มากด้วยทุนที่มีค่า
รักกันอย่างเมตตา          มุ่งปรารถนาความดีงาม
ปีใหม่ในครั้งนี้              ขออวยพรที่เกษมศานต์
มุ่งดีแผ่เจือจาน             ขอได้ขานรับพรเอย.
 
โพสท์ใน เพลง | ใส่ความเห็น

รณรงค์คนสุรินทร์ไม่กินสุรา

 
 
ต้นปี 2549  จังหวัดสุรินทร์และคณะสงฆ์จังหวัดสุรินทร์ ได้ขับเคลื่อนโครงการวัดเขตปลอดสุราถาวรเฉลิมราชย์ 1,070 วัด
ปี 2549-2550 วจส. จัดโครงการเสริมกระบวนการเรียนรู้เพื่อวัดเขตปลอดสุราเฉลิมราชย์  20 ตำบลนำร่อง
ปี 2550 ขวัญชุมชนและเครือข่ายองค์กรงดเหล้าสุรินทร์ สร้างนวัตกรรม แซนโฎนตาปลอดเหล้า
ปี 2551  วจส. จัดทำโครงการระยที่ 3  80  ตำบล
ในจังหวัดสุรินทร์ได้ทำกิจกรรมอีกมากมาย เพื่อขับเคลื่อนคนสุรินทร์ไม่กินสุรา
โพสท์ใน สุขภาพและความสุขสมบูรณ์ | ใส่ความเห็น

หลักธรรม ผู้ครองเรือน

ประโยชน์เกิดแต่การถือโภคทรัพย์

แสวงหาโภคทรัพย์ได้โดยทางที่ชอบแล้ว

                . เลี้ยงตัว  มารดา  บุตร  ภรรยา  บ่าวไพร ให้เป็นสุข.

                . เลี้ยงเพื่อนฝูงให้เป็นสุข.

                . บำบัดอันตรายที่เกิดขึ้นแต่เหตุต่าง ๆ .

                . ทำพลี ๕ อย่าง คือ ( แบ่งปันเล็กน้อย  ทำไปเพื่อสงเคราะห์ สบายใจ  ธรรมเนียม   ค่านิยม   ป้องกันภัย )

ก.       ญาติพลี    สงเคราะห์ญาติ

ข.       อติถิพลี   ต้อนรับแขก

ค.       ปุพพเปตพลี  ทำบุญอุทิศให้ผู้ตาย

.    ราชพลี    ถวายเป็นของหลวง    มีภาษีอากรเป็นต้น

ง.       เทวตาพลี   ทำบุญอุทิศให้เทวดา

. บริจาคทานในสมณพรหมณ์ผู้ประพฤติชอบ.

 

คุณสมบัติชาวพุทธ  ๕ ประการ

                .  ประกอบด้วยศรัทธา

                . มีศีลบริสุทธิ์

                . ไม่ถือมงคลตื่นข่าว  คือ เชื่อกรรม  ไม่เชื่อมงคล

                .  ไม่แสวงหาเขตบุญนอกพระพุทธศาสนา

                .  บำเพ็ญบุญแต่ในพระพุทธศาสนา

 

มิจฉาวณิชชา  คือ การค้าขายไม่ชอบธรรม    อย่าง

 

                . ค้าขายเครื่องประหาร

                . ค้าขายมนุษย์

                . ค้าสัตว์เป็นสำหรับฆ่าเพื่อเป็นอาหาร

                . ค้าน้ำเมา

                . ค้ายาพิษ

 

ทานที่ให้แล้วไม่ได้บุญ   ไม่ก่อประโยชน์  และเป็นโทษต่อสังคม

                .  ให้สุรา  ยาเสพย์ติด   เช่น บุหรี่   เหล้า  ฝิ่น  กัญชา  ยาบ้า ฯลฯ

                .  ให้อาวุธ  เช่น เขากำลังทะเลาะกัน  ยื่นปืน  ยืนมีดให้

                .  ให้มหรสพ  เช่น  พาไปดูหนังละคร ฟังดนตรี เพราะทำให้กามกำเริบ

                . ให้สัตว์เพศตรงข้าม  เช่น หาสุนัขตัวเมียไปให้ตัวผู้  หาสาว ๆ ไปให้เจ้านาย ฯลฯ

. ให้ภาพลามก  รวมถึงหนังสือลามกละสิ่งยั่วยุกามารมณ์ทั้งหลาย

โพสท์ใน หนังสือ | ใส่ความเห็น

หลักธรรม

หลักธรรม  ที่สร้างภูมิปัญญา เชื่อมโยงกับการแซนโฎนตา 

 

นิมิตฺตํ  สาธุ  รูปานํ   กตญฺญูกตเวทิตา   ความกตัญญู กตเวที  เป็นเครื่องหมายของคนดี

ปูชา จ ปูชนียานํ  เอตมมํคลมุตตมํ     การบูชาบุคคลที่ควรบูชา   เป็นมงคลอันสูงสุด

มารดาบิดา  เป็นพรหมของบุตร     มารดาบิดา  เป็นพระอรหันต์ในบ้าน      มารดาบิดา  เป็นบูรพาจารย์

 

บุคคลหาได้ยาก    อย่าง

                . บุพพการี      บุคคลผู้ทำอุปการะก่อน

                . กตัญญูกตเวที    บุคคลผู้รู้อุปการะที่ท่านทำแล้ว  และตอบแทน

 

ปุรัตถิมทิส  ทิศเบื้องหน้า  มารดาบิดา   บุตรพึงบำรุงด้วยสถาน ๕

                . ท่านเลี้ยงมาแล้ว  เลี้ยงท่านตอบ

                . ทำกิจของท่าน

                . ดำรงวงศ์สกุล

                . ประพฤติตนให้เป็นคนควรรับมรดก

                . เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว  ทำบุญอุทิศให้ท่าน

               

สัมมาทิฏฐิ ๑๐

                .  ทานที่ให้แล้วมีผล

                . ยัญที่บูชาแล้วมีผล  ( การบูชาบุคคลที่ควรบูชามีประโยชน์)

                . การเซ่นสรวงมีผล  ( การสงเคราะห์ การช่วยเหลือ  การพลีกรรม มีผลดี  ไม่เปล่าประโยชน์)

                . ผลของการกระทำความดี  ความชั่วมีจริง

                . โลกนี้มีคุณ ( ชีวิตในปัจจุบันมีคุณค่ามากในการทำความดี)

                . โลกหน้ามีจริง

                . มารดามีคุณ

                . บิดามีคุณ

                . สัตว์ที่เกิดเป็นโอปปาติกะมี  ( สวรรค์ นรก มีจริง )

                ๑๐.  ในโลกนี้มีพระอรหันต์จริง ( มีผู้ฝึกตนจนละกิเลสได้จริง)

 

สังสารวัฏฏ      การเวียน ว่าย  ตาย   เกิด

                กิเลส      กรรม     วิบาก

 

ติโรกุฑฑสูตร

                เปรตเหล่านั้นมาส่งเสียงร้องน่าสะพรึงกลัวในคืนนั้น

                รุ่งขึ้น  พระเจ้าพิมพิสารจึงมาเข้าเฝ้าพระศาสดา  ทูลถามถึงเสียงร้องนั้น  พระองค์ตรัสเล่าเหตุทั้งหมด  พระเจ้าพิมพิสารจึงถวายมหาทานทั้งภัตตาหาร  ผ้า  และเสนาสนะ  แล้วอุทิศส่วนกุศล  ทันใดนั้นอาหารทิพย์  ผ้าทิพย์  ปราสาททิพย์ ก็บังเกิดขึ้นแก่เปรต  พระศาสดาทรงอธิษฐานให้พระราชาเห็น  พระราชาทรงดีพระทัย

 

ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ

                หลานสาวของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ทำตุ๊กตาแป้งตกแตก  จึงร้องให้  ใคร ๆ ก็ไม่อาจระงับการร้องไห้ของหลานสาวได้   พี้เลี้ยงจึงพามาหามหาเศรษฐีขณะที่เข้าเฝ้าพระศาสดาอยู่ในเรือน

                เศรษฐีจึงอาราธนาพระศาสดาพร้อมสาวก ๕๐๐ รูปมารับทาน  เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ตุ๊กตาแป้งในวันรุ่งขึ้น  หลานสาวจึงหยุดร้องไห้

                วันต่อมา หมู่ญาติ  พระราชาและชาวเมืองก็ให้ทานคล้อยตามเศรษฐี  เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ตุ๊กตาแป้งต่อเนื่องไปอีกถึง ๕  เดือน

 

ชาณุสสโสณีสูตร

                ชาณุสโสณีมาทูลถามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า เมื่อบำเพ็ญกุศลแล้วอุทิศส่วนกุศลให้แก่หมู่ญาติที่ละโลกไปแล้ว  ทานกุศลนั้นจะสำเร็จแก่หมู่ญาติหรือไม่

                พระศาสดาตรัสว่า

ที่สำเร็จแก่หมู่ญาติก็มี  ที่ไม่สำเร็จแก่หมู่ญาติก็มี  อยู่ที่ภพภูมิที่เขาไปถือกำเนิดก็มี   บางคนทำอกุศลกรรมในโลกนี้ ไปบังเกิดเป็นเปรตวิสัย  ทานที่อุทิศย่อมสำเร็จแก่เปรตเหล่านั้น  แม้ทายกผู้บริจาคทานย่อมไม่ไร้ผลที่ตนเองได้บำเพ็ญบุญเอาไว้

 

จูฬเสฏฐีเปรต

                พระเจ้าอชาตศัตรูนอนไม่หลับ  จึงเดินจงกรมบนปราสาท  เห็นเปรต  จึงถามบุพกรรม  ทราบว่า  เคยเป็นเศรษฐีมั่งคั่ง  แต่มีใจตระหนี่ไม่ให้ทาน  ไม่บริจาคทรัพย์แก่ใคร  และเชื่อว่าผลทานของชาติหน้าไม่มี  ตายไปจึงเกิดเป็นเปรต

                วันต่อมาก็ทรงเห็นอีก  จึงถามว่า  เราจะให้ทานอะไรอันจะทำให้เปรตนั้นสมบูรณ์

                เปรตก็ตอบว่า  ให้ถวายข้าวและน้ำแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระสงฆ์แล้วอุทิศให้ 

                พระเจ้าอชาตศัตรูก็ทำตามคำของเปรตนั้น  อุทิศส่วนกุศลให้  ทำให้เปรตกลายเป็นเทวดาทันที

 

บุญกิริยาวัตถุ

                ปัตติทานมัย    บุญที่สำเร็จจากการให้ส่วนบุญ   ปัตติ แปลว่า ส่วนบุญ, ใบบุญ , ผลบุญ,  ทาน แปลว่า การให้    ปัตติทาน ใช้สำหรับผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่  เมื่อเราได้กระทำบุญด้วยการทำทาน รักษาศีล  เจริญภาวนา หรือทำความดีในรูปแบบต่าง ๆ แล้ว เรานำการกระทำบุญความดีนี้ไปแจ้งผู้ที่เราเอาบุญไปให้  ให้เขาได้อนุโมทนาบุญกับเรา    

สำหรับผู้ที่เสียชีวิตไปแล้ว  นิยมใช้คำว่า การอุทิศ หรือ กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล

                ปัตตานุโมทนามัย  บุญที่สำเร็จโดยการอนุโมทนาบุญ  บุญเกิดจากการเห็นดีด้วย คล้อยตาม  มีความปีติ ยินดี อิ่มใจในส่วนบุญที่เขาอุทิศให้  การอนุโมทนาบุญที่ทำให้เกิดบุญเกิดกุศลมาก  คือ ต้องเป็นเจตนาที่กระทำด้วยความยินดีประกอบด้วยปัญญา    

แปลศัพท์    ปัตตา  เป็นคำเดียวกันกับ  ปัตติ      ส่วน อนุโมทนา  แปลตามศัพท์ว่า  จิตอ่อนโยนตาม,  จิตยินดีตาม, จิตปีติตาม , จิตชื่นชมความดีได้     ปรทัตตูปชีวีเปรต เมื่อมีหมู่ญาติทำบุญอุทิศให้ จะต้องอนุโมทนาบุญเป็น  จึงจะรับส่วนบุญได้  

จิตที่อนุโมทนาบุญเป็นต้องประกอบด้วยจิตที่เป็นสัมมาทิฏฐิ  คือ คิดถูก เห็นถูก  เข้าใจถูก   วินิจฉัยเป็นว่าอะไร  ถูกผิด บาปบุญ  ชั่วดี  คุณโทษ ประโยชน์ มิใช่ประโยชน์   ควร ไม่ควร   จิตที่เป็นสัมมาทิฏฐิจึงต้องประกอบอยู่ในสติ    สิ่งใดทำลายสติ เช่นน้ำเมา   ย่อมขัดขวางการอนุโมทนาบุญ      การกรวดน้ำเมาเป็นสิ่งขัดขวางการให้ส่วนบุญ และรับส่วนบุญ   การนำน้ำเหล้ามากรวดอุทิศบุญกุศลจึงเป็นการกระทำที่เหนื่อยเปล่า  ไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของการแซนโฎนตาตามความเชื่อทางศาสนา  ทั้งทำลายคุณค่าของประเพณีของชนเผ่าอย่างมากยิ่ง 

 

วิธีการกรวดน้ำ 

                เมื่อพระสงฆ์กล่าวให้พรว่า  ยถา  วาริ  วหา……. ให้จับภาชนะเทน้ำลงในภาชนะรองน้ำ   โดยรินน้ำไม่ให้ขาดสายไม่ขาดตอน  จนกระทั่งพระสงฆ์กล่าวให้พรตอนจบว่า  มณิโชติรโส ยถาฯ  ให้เทน้ำจนหมด

                การกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล ต้องใช้น้ำสะอาด น้ำเปล่า 

                สำหรับผู้ที่ไม่มีอุปกรณ์ในการกรวดน้ำ  ให้ประนมมือ  ระลึกนึกถึงบุญที่ตนเองกระทำ  แล้วนึกถึงภาพของบรรพบุรุษ  พร้อมนึกถึง ชื่อ  นามสกุล และกล่าวคำกรวดน้ำแบบย่อดังนี้      อิทัง  เม  ญาตีนัง  โหตุ  สุขิตา  โหนตุ  ญาตะโยฯ     ขอส่วนบุญนี้  จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า  ขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า  จงมีความสุขฯ

 

การอุทิศส่วนกุศล  สำเร็จประโยชน์ด้วยเหตุ ๓

                . ด้วยการอนุโมทนาของผู้รับ

                . ด้วยการอุทิศของทายกทั้งหลาย

                . ด้วยการถึงพร้อมแห่งทักขิไณยบุคคล

 

คติ      ทางที่ไป   ( ชีวิตหลังความตาย)

                .  ทุคติ   ทางไปไม่ดี       คือ  อบายภูมิ    ภูมิกำเนิดที่ปราศจากความเจริญ   อบายภูมิมี     ภูมิ

()  นิรยภูมิ  หรือ นรก  โลกที่ไม่มีความสุขสบาย  เต็มไปด้วยความทุกข์ล้วน ๆ   กำเนิดแบบโอปปาติกะ อุบัติขึ้นโตทันที      มหานรก   มี    ขุม คือ สัญชีวมหานรก , กาฬสุตตมหานรก, สังฆาฏมหานรก, โรรุวมหานรก,  มหาโรรุวมหานรก, ตาปนมหานรก, มหาตาปนมหานรก และ  อเวจีมหานรก    มหานรกแต่ละขุมมีอุสสทนรก เป็นขุมบริวาร ๑๖ ขุม และ ยมโลก เป็นขุมย่อย  ๔๐   ขุม   รวมทั้งหมด  ๔๕๖    ขุม 

นรกขุมที่ ๕  มหาโรรุวมหานรก (เสียงร้องใหญ่) เหตุที่มาเกิดในขุมนี้ เพราะดื่มน้ำเมา  ขายน้ำเมา หรือเกี่ยวข้องกับน้ำเมา ยาเสพติดต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก

() เปตติวิสยภูมิ หรือ ภูมิของเปรต   โลกที่อยู่ของสัตว์ผู้ห่างไกลจากความสุข  กำเนิดแบบโอปปาติกะ   สถานที่อยู่อาศัยไม่แน่นอน เช่น ตามป่า ภูเขา เหว  ทะเล  เกาะ  ต้องทุกข์ทรมานเพราะความหิว  ความอดอยากอาหารเป็นอย่างยิ่ง และไม่มีเสื้อผ้าใส่ เหตุที่ได้รับกรรมเช่นนี้เพราะทำอกุศลไว้เมื่อยังเป็นมนุษย์ เมื่อละโลกแล้วจึงมาเป็นเปรต บางพวกไปใช้กรรมในนรกก่อน เมื่อกรรมเบาบางแล้วจึงมาเป็นเปรต  ที่อาศัยของเปรตอยู่ในซอกเขาตรีกูฏ ใกล้อสูร บางชนิดอยู่ภพภูมิระดับพื้นดินชั้นเดียวกับมนุษย์เปรตมี ๑๒ จำพวก

. วันตาสเปรต                    เปรตกินน้ำลาย  เสมหะ  อาเจียน เป็นอาหาร

. กุณปาสเปรต                  เปรตกินซากศพคนหรือสัตว์   เป็นอาหาร

. คูถขาทกเปรต เปรตกินอุจจาระต่าง ๆ เป็นอาหาร

. อัคคิชาลมุขเปรต           เปรตมีเปลวไฟลุกอยู่ในปากเสมอ

. สุจิมุขเปรต                     เปรตมีปากเล็กเท่ารูเข็ม

. ตัณหัฏฏิตเปรต               เปรตที่ถูกตัณหาเบียดเบียนให้หิวข้าว หิวน้ำอยู่เสมอ

. สุนิชฌามกเปรต            เปรตมีลำตัวดำเหมือนตอไม้ที่ถูกเผา

. สัตถังคเปรต                   เปรตมีเล็บมือเล็บเท้ายาว  คมเหมือนมีด

. ปัพพตังคเปรต                เปรตมีร่างกายสูงใหญ่เท่าภูเขา

๑๐. อชครังคเปรต               เปรตมีร่างกายเหมือนงูเหลือม

๑๑. เวมานิกเปรต               เปรตที่เกิดในวิมาน  กลางวันเสวยทุกข์  กลางคืนเสวยสุขในวิมาน

๑๒. มหิทธิกเปรต              เปรตมีฤทธิ์มาก  ปกครองดูแลเปรตอื่น ๆ อยู่ในป่าเชิงเขาหิมาลัย

เปรต ๑๒ จำพวกยังมีการแบ่งชนิดอื่นอีกมาก   ปรทัตตูปชีวีเปรต   เป็นเปรตชนิดหนึ่ง  เปรตที่มีโอกาสรับส่วนบุญที่หมู่ญาติอุทิศให้   มักเกิดอยู่ในบริเวณบ้าน หรือภพภูมิระดับพื้นดินชั้นเดียวกับมนุษย์  จึงทราบการทำบุญของหมู่ญาติและอนุโมทนาบุญได้     เปรตชนิดนอกจากนี้ไม่สามารถรับได้  เปรตบางชนิดเท่านั้น ชนิดที่ถูกปล่อยเปรตจัดเป็นปรทัตตูปชีวีเปรต

()   อสุรกายภูมิ   ภูมิที่อยู่ของสัตว์ซึ่งปราศจากความร่าเริง สนุกสนาน ต้องเสวยทุกข์เวทนาเพราะความหิวกระหายอยู่ตลอดเวลา  กำเนิดแบบโอปปาติกะ อสุรกายคล้ายเปรตมาก    แตกต่างกัน คือ เปรตมีทุกขเวทนาเพราะอดอาหาร ความหิวโหย  ส่วนอสุรกาย ทุกขเวทนาเพราะความกระหายน้ำ      อสุรกาย มี ๓ ประเภท ได้แก่  เทวอสูร ,  เปตติอสูร  และ นิรยอสูร

()  เดรัจฉานภูมิ  คือ โลกของสัตว์ผู้ไปโดยขวาง  ไปไหน มาไหน ต้องไปโดยอาการขวางลำตัว  ต้องค่ำอกไป  เช่น สุนัข แมว หนู  ไก่ งู ปลา  เป็นต้น   ร่างกายขวางแล้วจิตใจก็ยังขวางอีกด้วย  คือขวางจากมรรคผลนิพพาน  แม้จะทำดีเท่าไร ก็ไม่สามารถบรรลุมรรคผลนิพพานในชาตินี้ได้  อย่างมากที่สุดก็เพียงไปสวรรค์เท่านั้น

. สุคติ    ทางไปดี  มี    มนุสสภูมิ    ,    เทวภูมิ   และ  พรหมภูมิ

()  มนุสสภูมิ  หรือ มนุสสโลก  โลกซึ่งเป็นที่อาศัยของสัตว์ผู้มีใจสูง  คำว่า มนุษย์  มาจากคำว่า มนอ่านว่า มะนะ  แปลว่าใจ  รวมกับคำว่า อุษย์หรือ อุตม” (อุดม)  แปลว่า สูง  มนุษย์จึงหมายถึงผู้มีใจสูง  ใจรุ่งเรือง  และกล้าแข็ง   ลักษณะพิเศษของมนุษย์ ๔ ประการ () มีจิตใจกล้าแข็ง   ทำดีได้เต็มที่และทำชั่วได้เต็มที่เช่นกัน  () มีความเข้าใจในสิ่งที่เป็นเหตุ ทั้งที่สมควรและไม่สมควร  () มีความเข้าใจในสิ่งที่มีประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ () มีความเข้าใจในสิ่งที่เป็นกุศลและอกุศล  

เหตุที่ทำให้มาเกิดเป็นมนุษย์  เพราะเป็นผู้มีมนุษยธรรม   คือ ธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์  ซึ่งก็คือ ศีลทั้ง ๕  ข้อ  หากเป็นผู้ที่บกพร่องในการรักษาศีลแล้ว  ก็ยากที่จะกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ได้อีก

()  เทวภูมิ  หรือสวรรค์  คือ ภูมิอันเป็นที่อยู่ของเทวดา   กำเนิดแบบโอปปาติกะ  อุบัติขึ้นตั้งอยู่ในวัยหนุ่มสาวทันที   ยังบริโภกามคุณ ๕ อยู่     สวรรค์มี ๖ ชั้น เป็นภูมิต่ำสูงตามลำดับ  ได้แก่    จาตุมมหาราชิกาเทวภูมิ,   ตาวติงสเทวภูมิ,  ยามาเทวภูมิ,  ตุสิตาเทวภูมิ, นิมมานรดีเทวภูมิ และ ปรนิมมิตวสวัตดีเทวภูมิ  

สวรรค์ชั้นจาตุมมหาราชิกา  เป็นสวรรค์ชั้นแรก ชั้นต่ำที่สุด  เทวดาชั้นนี้มีหลายประเภท อยู่บนพื้นดิน บนต้นไม้ อยู่ในอากาศ บางพวกปะปนกับที่อยู่ของมนุษย์  มีทั้งเทวดาสัมมาทิฏฐิ เห็นถูก และเทวดามิจฉาทิฏฐิ เห็นผิด เป็นเทวดาที่มีครอบครัวและไม่มีครอบครัว ที่มีความสับสนวุ่นวายเหมือนโลกมนุษย์  เทวดาขี้เมาก็มีจะถูกขับไล่ไปอยู่กับอสูร เรียก เทวดาอสูร       คนธรรพ์   (นางตะเคียน  นางตานี  ) วิทยาธร   กุมภัณฑ์   ครุฑ   นาค   รากษส  ยักษ์น้ำ   ภุมมเทวา   รุกขเทวา  อากาสเทวา  จัดเป็นเทวดาในชั้นนี้  

กุมภัณฑ์ เป็นเทวดาที่มีนิสัยดุร้าย  อาจเป็นพญายมราช  สุวรรณเลขา  สุวานเลขา  หรือเจ้าหน้าที่อื่น ๆ เป็นเจ้าหน้าที่ในยมโลกที่คอยตัดสินโทษและลงทัณฑ์สัตว์นรก

เหตุแห่งการเกิดในสวรรค์แต่ละชั้น ต้องหมั่นสร้างความดี สั่งสมบุญ บำเพ็ญบารมี หมั่นให้ทาน รักษาศีล   เจริญภาวนา  เป็นต้น และขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์การการทำความดี   แบ่งได้ ๔  ประการ  คือ

. ทำความดีเพราะความกลัว   ทำดีเผื่อไว้ ทำดีกันเหนียว  อย่างนี้ทำดีได้ไม่เต็มที่  เหมือนเด็กทำดีเพราะกลัวครูหรือพ่อแม่ตี   เมื่อละโลกแล้ว ผลบุญส่งให้ไปได้เพียงภุมมเทวา  รุกขเทวา  หรืออากาสเทวา

. ทำความดีเพราะหวังสิ่งตอบแทน เมื่อทำความดีครั้งใด ใจจะคอยคิดหวังลาภหรือของรางวัลต่าง ๆ กลับคืนมา เมื่อละโลกไปแล้ว ผลบุญส่งให้ไปเป็นเทวดาไม่สูงไปกว่าสวรรค์ชั้นจาตุมมหาราชิกา

. ทำความดีเพราะหวังคำชม  ต้องได้รับคำสรรเสริญจึงจะมีกำลังใจทำความดี  เมื่อละโลกไปแล้ว ผลบุญส่งให้ไปเป็นเทวดาไม่สูงกว่าสวรรค์ชั้นจาตุมมหาราชิกา

. ทำความดีเพื่อความดี  คือทำความดีเพราะคิดว่านั่นเป็นความดี  เป็นสิ่งที่ควรทำ ใครจะให้หรือไม่ให้ของใด ๆ ก็ยังทำความดี ใครจะชมหรือไม่ชมก็ยังทำความดี  เพราะมั่นใจในความดีที่ตนทำ  เมื่อละโลกไปแล้ว ผลบุญส่งให้ไปเป็นเทวดาตั้งแต่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ขึ้นไป  ซึ่งขึ้นอยู่กับความประณีตของใจในขณะทำความดี

()  พรหมภูมิ  หรือพรหมโลก  ภพอันเป็นที่อยู่ของพรหม  พรหมภูมิ อยู่สูงกว่าเทวโลก     พรหม คือ ผู้ที่มีความเจริญอยู่ด้วยคุณพิเศษ  มีฌาน เป็นต้น   รูปร่างพรหมนั้นไม่ปรากฏว่าเป็นหญิงหรือชาย  พรหมแบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ รูปพรหม ซึ่งมี ๑๖ ชั้น และอรูปพหรม ซึ่งมี ๔ ชั้น

 

โพสท์ใน หนังสือ | ใส่ความเห็น

แซนโฎนตา

แซนโฎนตา บูชาบรรพบุรุษ

วันแซนโฎนตา เทศกาลเบ็ณทม   วันครอบครัวของคนสุรินทร์

แซนขม็อจกะไม๊ยซร็อจซรา     แซนโฎนตาอ็อยซร็อจตึกโดง

 

                แซนโฏนตา  เป็นประเพณีบูชาบรรพบุรุษ   ของชาวเขมรสุรินทร์   ศรีสะเกษ   บุรีรัมย์     พิธีกรรมที่ระลึกถึงบรรพบุรุษ   การขอขมาลาโทษซึ่งกันและกัน    การรวมญาติ    การเฉลิมฉลอง  และวิถีชีวิตชุมชนเกษตรกรรมที่มีความเป็นอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

แซน  /แซนเปรียญ ตรงกับคำว่า  เซ่น  หรือ เซ่นสรวง    เป็นลักษณะกิริยา     การกระทำ     กระบวนการ     หรือพิธีกรรม  มีการจัดสำรับอาหารหวานคาว เรียกว่า ซะแนนหรือสะปวก  จุดธูปเทียนบอกกล่าว ร้องเรียกชื่อสกุลของบุคคลที่เสียชีวิตไปแล้ว  ให้มาซีเจาะ โฮบปะซากระยาบูชา  การหยิบแบ่งให้ ปจี  ลงท้ายที่การกรวดน้ำให้ แซนขม็อจซร็อจตึกโดง   ภาพลักษณ์ทั้งหมดแสดงออกทางสังคม บ่งชี้คุณธรรม ถึงธรรมชาติแห่งความจงรักภักดี    ความอ่อนน้อมถ่อมตน     ความรักความผูกพัน     ความตระหนักในบุญคุณ    การประกาศคุณค่าคุณงามความดี     ที่มีต่อบรรพบุรุษ

โฎนตา  แยกเป็น      คำ    คือ โฏน  กับ   ตา    

                โฎน    (เจียโฎน )  เป็นบรรพบุรุษฝ่ายหญิง   หมายถึง   ยาย    ย่า   ยาดทวด    ย่าทวด 

                บางพื้นที่ กล่าวว่า  โฎน  แปลว่า นาน , ล่วงเลย , อายุมาก   มีความหมายว่า  ตระกูล , ตระกูลบรรพบุรุษ   เป็นคำกลาง ๆ ใช้ได้  ทั้งชาย หรือ  หญิง    เช่น  โฎนตา   โฎนแย็ย     เจีย แปลว่า  ไป,ไกล  เจียโฎน มีความหมายว่าโคตร

ตา     (เจียตา  )    เป็นบรรพบุรุษฝ่ายชาย      หมายถึง   ตา     ปู่    ตาทวด      ปู่ทวด

โฏนตา   หมายเอา บรรพบุรุษ ที่เสียชีวิตแล้ว

แซนโฎนตา   ประเพณีที่ถูกจัดขึ้นในช่วงเดือน ๑๐  หรือ  แคเบ็ณ    ของทุกปี 

แค    ตรงกับคำว่า   เดือน    เป็นหน่วยนับเวลา   มีระยะเวลา    ๓๐ วัน   ตามการเปลี่ยนแปลงที่ครบรอบของพระจันทร์    เริ่มต้นตั้งแต่พระจันทร์เริ่มส่องแสง หรือ ขึ้น ๑ ค่ำ  เริ่มเดือนหงาย   ถึงวันพระจันทร์ดับสนิท   แรม  ๑๕  ค่ำ         ในระยะ    เดือน   แบ่งเป็น    ช่วงหรือ ปักษ์         ๑๕     วันแรก เป็นข้างขึ้น  เรียก ปักษ์ แรก       ๑๕  วันหลัง  เป็นข้างแรม   เรียก ปักษ์หลัง 

แคเบ็ณ  ของชาวสุรินทร์  อยู่ในกลางพรรษา   ช่วงหลังการปักดำข้าว   ต้องปิดกั้นน้ำไว้เลี้ยงต้นข้าว   และข้าวกำลังแต่งตัวเตรียมตั้งท้อง    เป็นช่วงที่แผ่วการลงแรง  ชาวนาจะเฝ้าดูแลรักษาเอาใจใส่ต้นข้าวในนาปรารถนาให้เจริญงอกงาม สวยงาม ได้ผลผลิตเต็มเม็ดเต็มหน่วย    ชาวเขมรจึงประกอบพิธีบูชาบรรพบุรุษ ( แซนโฎนตา)  

แคเบ็ณ  มีความหมายว่า   เดือนที่มีการประกอบพิธีบูชาบรรพบุรุษ  กร่อนจาก  แคบายเบ็ณ ( เดือนข้าวบิณฑ์)

บายเบ็ณ  มาจากคำภาษาบาลีว่า บิณฑะ  ซึ่งแปลว่า ก้อนข้าว    มีความหมายว่า บรรพบุรุษร่วมข้าวก้อนเดียวกัน , บรรพบุรุษในตระกูลเดียวกัน, หมู่ญาติที่ทานข้าวหม้อเดียวกัน , ปู่ย่าตายายพ่อแม่พี่น้องลูกหลานหมู่ญาติเดียวกัน

เบ็ณตู๊จ  (ตู๊จ  แปลว่า เล็ก , น้อย ,นิดหน่อย)  ทางกาลเวลามีความหมายว่า  เริ่มต้น , ช่วงต้นเดือน , ๑๕ วันแรกของเดือน ปักษ์แรก มีวันขึ้น ๑๕ ค่ำเป็นวันสุดท้าย   ทางคำนาม มีความหมายว่า  การเริ่มต้นความพร้อม, การเตรียมความพร้อม , การเริ่มต้นในการกระทำ    เพื่อบูชาบรรพบุรุษ

เบ็ณทม  ( ทม แปลว่า ใหญ่ , ยิ่งใหญ่ , สมบูรณ์ ,   เต็มที่ ,โต ) ทางกาลเวลามีความหมายว่า   เต็มเดือน ,  ปลายเดือน,จะสิ้นเดือน , ๑๕ วันหลัง ปักษ์หลัง มีวันแรม ๑๕ ค่ำ เป็นวันสุดท้าย    ทางคำนาม มีความหมายว่า   การไปทำบุญที่วัดทุก ๆ วัน,   การไปทำบุญที่วัดอย่างต่อเนื่อง,    การทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้เต็มที่,  การรวมญาติในตระกูลเดียวกัน, การพบปะกันในเหล่าหมู่ญาติ,  การขอขมาลาโทษซึ่งกันและกันในครอบครัว,  การกระทำการบูชาบรรพบุรุษอย่างยิ่งใหญ่,    การแซนโฎนตาที่เต็มรูปแบบ,  พิธีกรรมแซนโฎนตาที่สมบูรณ์

แซนโฎนตา  จัดขึ้นในช่วง เบ็ณทม     หรือ     แซนโฎนตา  คือ  เบ็ณทม 

 

เทศกาลทำบุญทำทาน  ความหมาย  ความเชื่อ  จารีต  และ พิธีกรรม    เบ็ณทม / แซนโฎนตา

เวรจังหัน, เวรลูก  (บุญเจ้าภาพเลี้ยงภัตตาหาร)

                ในช่วงตลอดพรรษา  ชุมชนจะแบ่งหน้าที่กันเป็นเจ้าภาพเลี้ยงพระ โดยจัดกันเป็นกลุ่ม ๆ เป็นกลุ่มที่มีบ้านเรือนอยู่ใกล้ชิดกัน    กลุ่มหนึ่งก็ประมาณ  ๖ คน  หรือพอสมควรกับจำนวนพระเณรในวัด   เพื่อนำภัตตาหารที่เป็นกับข้าวหรือกับแกง ไปถวายพระที่วัดในตอนเช้าของแต่ละวัน   ถ้าเป็นวันพระหรือวันที่มีการไปทำบุญกันรวมกันทั้งชุมชนอยู่แล้วเช่น กันส่ง  จะไม่ต้องจัดกลุ่มไปถวายภัตตาหาร และพระสงฆ์ก็ไม่ต้องออกบิณฑบาต

เลียงลูก  ( ทำบุญเลี้ยงพระ)

                มีการนัดแนะกันหลาย ๆ คน หลาย ๆ ชุมชน ได้ร่วมกันยกภัตตาหารไปทำบุญเลี้ยงเพลพระ    วัดใดวัดหนึ่ง

สดับลูกสวดมนต์ละเงียย (ฟังเจริญพระพุทธมนต์เย็นก่อนวันพระ)

                ผู้คนหนุ่ม สาว  ผู้หลักผู้ใหญ่  ถือพานดอกไม้ธูปเทียน ไปวัดช่วงค่ำคืนก่อนถึงวันพระ   เพื่อฟังพระสงฆ์ในวัดเจริญพระพุทธมนต์เย็น

ปล็อยเเปรต   (ปล่อยเปรต)

                ในรอบปี ผู้คุมจะปล่อยวิญาณเปรตทั้งหลายจากเขาตรีกูฏขึ้นมาท่องเที่ยวบนโลกมนุษย์     ครั้ง   ปล่อยให้มาเยี่ยมบ้าน เยี่ยมญาติ   คือ ตั้งแต่วันขึ้น  ๑๕  ค่ำ(เบ็ณตู๊จ)  ถึง  วันแรม  ๑๕  ค่ำ (เบ็ณทม)    โดย วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐   ( งัยเป็งบ็อล แคเบ็ณ งัยปล็อยเเปรต)เป็นวันปล่อย    และ เวลาเช้าของวันแรม ๑๕ ค่ำ (งัยด็าจส์)เป็นวันส่งกลับหรือรับกลับ   ตั้งแต่วันแรม ๘ ค่ำถึงวันแรม ๑๕ ค่ำ จำนวน    วัน  พวกวิญญาณเปรต จะเดินทางไปเฉพาะที่วัดเท่านั้น  เพื่อรอรับเอาส่วนบุญที่หมู่ญาติพี่น้องลูกหานทั้งหลายของตนทำบุญการอุทิศให้   ถ้าไม่พบหมู่ญาติพี่น้องลูกหลานของตนไปทำบุญอุทิศให้ที่วัดหนึ่ง  วิญญาณเปรตก็จะเดินทางไปหาหมู่ญาติพี่น้องลูกหลานของตนที่วัดอื่น ๆ ใกล้เคียงกันต่อไป  ตลอด ๗ วันนี้ จะท่องเที่ยวหาญาติพี่น้องลูกหลานของตนครบจำนวน  ๗ วัด ๗ วา    ถ้าไม่พบหมู่ญาติพี่น้องลูกหลานของตน มาทำบุญอุทิศให้ ณ วัดใดวัดหนึ่งเลย  วิญญาณเปรตก็นั่งร้องไห้ และสาบแช่งหมู่ญาติพี่น้องลูกหลานคนนั้น ๆ (อวยฉิบหาย กะซจ กะเซ็น เฮ็นฮัย  กะไม๊ยเมียน กะไม๊ยเกิดเล็ย) ให้ฉิบหาย  ตกต่ำ หากินไม่รุ่งเรือง ให้อดอยาก  ยากจนข้นแค้น ตกทุกข์ได้ยาก  ต่าง ๆ นานาประการ  ฯลฯ

 

เทอบ็อญอุติส  ( ทำบุญอุทิศ   ให้อย่างเห็นใจ   ให้อย่างจริงใจ    ให้อย่างคิดถึงห่วงใยอาทร     ให้อย่างจงรักภักดี 

                        ให้อย่างบริสุทธิ์ใจ )

                อุทิศ  แปลว่า  เฉพาะเจาะจง    มาจากภาษาบาลี  (อุ+ทิส )   อุ = ขึ้น,นอก     ทิส=มอง, แลดู, เห็น, มองเห็น     อุทิศ จึงมีความหมายว่า  จ้องมองเฉพาะคนใดคนหนึ่ง , มองเห็นเฉพาะบุคคล  , มองเจาะจงตัวบุคคล, ยกให้เจาะจง , เจาะจงให้เฉพาะ ,ให้ความสำคัญมากที่สุดเฉพาะ      อุทิศใช้คู่กับบุญ   เช่น ทำบุญอุทิศ, อุทิศส่วนบุญส่วนกุศล, กรวดน้ำอุทิศ, ส่วนบุญส่วนกุศลนี้อุทิศให้… ,  อุทิศบุญด้วยน้ำสะอาด   เป็นต้น 

                เมื่อชาวเขมรประกอบพิธีกรรมในเทศกาลเบ็ณทม  แสดงกิริยาอาการต่าง ๆ ทางกาย ทางวาจา และทางใจ   เช่น

กันซง  มีความหมายเต็มว่า ถือสัจจะในการทำบุญกับพระสงฆ์ ใกล้เคียงกับคำว่า กันซ็อง ตะร็องเจิ๊ด  ไปทำบุญกันที่วัด และไปแต่เช้า ๆ ทุกวัน ตลอด  ๖ วัน   กิจกรรมกันซงที่ประกอบเป็นวิธีการ มีการจัดสะปวกถวายพระ  จัดทำกระต็วงบายดา    จัดทำบายเบิ๊ดตะโบ    ตักบาตร   สวดดา    ถือน้ำขวดกรวดน้ำสะอาด   ห่อข้าวต้ม  ทำขนมนมเนย   และการฉลองซง

แซนโฎนตา ในวันแซนโฎนตา จะลุกจัดสถานที่แซนโฎนตา เตรียมการแต่เช้า จัดก็จัดบนบ้าน เลือกเฉพาะพื้นเรือนชั้นสูง ๆ  ปูลาดชั้นล่างสุดด้วยเสื่อ ทับลงด้วยฟูกหลังใหม่ให้หันไปทางตะวันออก ด้านหัวพับฟูกเป็น ๒ ชั้น ปูผ้าขาวคลุมฟูกอีกที  แล้ววางหมอนบนหัวฟูก  จัดพานดอกไม้ขันธ์ ๕ วางบนฟูก  จัดกระเฌอโฎนตาวางข้างซ้ายฟูก(กระเฌอใส่ของโฎนตา) พร้อมของกินของใช้ที่จำเป็นในการอยู่การดำรงชีวิต หาของป่ายาสมุนไพร (เฉพาะสมอและมะขามป้อม)  เมล็ดพันธุ์ธัญญาหาร  พืชพันธุ์  พันธุ์ผักพื้นบ้าน ขนม ข้าวต้ม ผลไม้ ที่สามารถจัดหาได้ในครัวเรือนในชุมชนและตามป่าตามทุ่งนา  หวังฝากส่งให้ถึงโฎนตาจะได้นำไปปลูก ไปขยายพันธุ์ ไปกินไปใช้สอยได้  หาใส่รวมไว้ให้ครบครันในกระเฌอโฎนตา   จัดตั้งซะแนน หรือ ซะปวก    ซะปวก   สำรับกับข้าวและน้ำดื่มสะอาดไว้ต้อนรับ เรียบตะต็วลโฎนตาวางข้างขวาฟูก จุดเทียนธูปตลอดเวลาตลอดวัน หาเสื้อผ้า ผ้านุ่งผ้าสไบผืนใหม่ ๆ สำหรับทั้งชายและหญิงสีสดไว้บนภาชนะถาดรองรับจัดวางไว้ใกล้ซะแนนแซน  เมื่อญาติพี่น้องลูกหลาน เขยสะใภ้ มาจากที่ใกล้หรือที่ไกลต่างถือของกินของใช้ เสื้อผ้า อาหารสุก อาหารดิบ ผลหมากรากไม้ หรือเงินตรา ติดมือมาฝากบูชาพ่อแม่(จูนเบ็ณ/จูนโฎนตา) และแซนโฎนตา  ถึงเรือนแล้วก็ขึ้นตรงไปแซนโฎนตา ช่วยกันเรียกหาบรรพบุรุษออกชื่อออกนามสกุลให้ถูกต้องให้ชัดเจนและเรียกเสียงดัง ๆ  เป็นการ ปะจุมโฎนตา หรือชุมนุมโฎนตา เพื่อซีเจาะ โฮบปะซากระยาบูชา   เรียกแล้วก็กรวดน้ำให้  เรียกซ้ำกรวดซ้ำครั้งละ ๓ หน   ยกส่วนบุญส่วนกุศลให้ก็ใช้น้ำโดงเลาคือน้ำมะพร้าวบริสุทธิ์ เพราะหาง่ายไม่ต้องจ่ายซื้อ ญาติพี่น้องลูกหลาน เขย สะใภ้ คนนับถือคนใหม่มาก็แซนโฎนตาอย่างนั้นทุกรอบไป   แม้เจ้าบ้านเดินไปเดินมา  ห่อข้าวต้มบ้าง ทำขนมบ้าง  หรือทำงานอื่น ๆ อยู่ ถ้านึกได้ คิดได้ถึงบรรพบุรุษคนไหนคนใหม่ ชัดในใจว่ายังไม่เรียกหายังไม่ได้บอกกล่าวถึง  ก็ขึ้นไปแซนใหม่ ซ้ำ ๆ เวียนขึ้นเวียนลงตลอดทั้งวัน   ผู้หลักผู้ใหญ่ในหมู่บ้านหรือญาติมิตรเพื่อนบ้าน บ้านใกล้เรือนเคียงต่างชวนต่างช่วยกันแซนโฎนตาคนละที  ขึ้นบ้านนี้ลงบ้านนั้นไปบ้านโน้น ตั้งแต่ช่วงบ่ายจนเย็นค่ำ  ยามไปมาหาสู่กันก็มีของฝากกัน  ของแลกเปลี่ยนกัน ให้บ้านโน้น แลกบ้านนี้  เป็นขนมบ้าง ข้าวต้ม ผลไม้บ้าง อาหารบ้าง   บางบ้านก็จัดหาอาหารมาทานร่วมกันด้วย

คนเฒ่าคนแก่ ผู้หลักผู้ใหญ่สอนไว้ว่า เมื่อออกบ้านมีเรือนแล้ว ให้ลูกจัดกระเฌอโฎนตาที่บ้านของตนด้วย  เพื่อว่าตายายจะได้ไปมาหาสู่ จะได้ให้การต้อนรับ   ตายายได้ ซีเจะ โฮบปะซาแล้ว  จะได้ให้พร ให้หากินรุ่งเรือง อยู่เย็นเป็นสุข  และแต่ละบ้านจะมีผีบ้านผีเรือน เมี๊ยบาปะเตี๊ยซะแม็ง  รักษาดูแลอยู่  ลูกหลานรุ่นหลังบ้านใดที่เชื่อฟังและทำตามเมื่อถึงวันโฎนตาทุกปี  คนเฒ่าคนแก่ ผู้หลักผู้ใหญ่ในตระกูล ก็จะพากันมาช่วยแซน ช่วยเรียกโฎนตาอย่างอบอุ่น

ลูกสะใภ้คนดีต้องจูนโฏนตา จัดของกินของใช้ เสื้อผ้า อาหารสุก อาหารดิบ ผลหมากรากไม้ หรือเงินตรา ตามความเหมาะสมไปบูชาคุณพ่อคุณแม่ทั้ง ๒ ฝ่าย คือ พ่อแม่ฝ่ายตนและพ่อแม่ฝ่ายสามี  การจูนโฎนตาจะกระทำก่อนวันหรือกระทำในวันแซนโฎนตาก็ใช้ได้    ที่บ้านก็จัดแซนโฎนตาปลูกฝังความดีในครอบครัว   หน้าที่จูนโฎนตาก็ไม่ดูดาย

ได้เวลาเย็นพลบค่ำ ประมาณว่าวัวควายเข้าคอกแล้ว ก็พาสมาชิกในครอบครัวร่วมแซนโฎนตาสรุปใหญ่  ก่อนแซนโฎนตาบูชาบรรพบุรุษ เพื่อให้บุญกุศลมีกำลังแรงและส่งถึงโฎนตาได้มาก ๆ ทุกคนในครอบครัวก็ต้องทำตนให้บริสุทธิ์ทั้งกายวาจาใจก่อน ด้วยการให้น้องถือพานดอกไม้ธูปเทียนกล่าวคำขอขมาลาโทษ ขอโทษขออภัยที่เคยผิดพลาดล่วงเกินพลาดพลั้งต่อพี่ น้องกับพี่ทำการขอขมาอย่างนี้ต่อ ๆ กันตามลำดับ  เริ่มที่น้องสุดท้องน้องสุดท้ายก่อน เมื่อถึงพี่คนโตลูก ๆ ทุกคนก็รวบรวมสิ่งของเสื้อผ้างาม ๆ เงินทองของมีค่าของมีคุณใส่พานพร้อมดอกไม้ธูปเทียนไว้บนสุดทำการขอขมาลาโทษ และมอบของบูชาคุณพ่อคุณแม่ ( ถ้าแยกครัวเรือกันแล้วจะกระทำก่อนวันโฎนตาหรือช่วงเช้าจึงควร)  ขอศีลขอพรจากคุณพ่อคุณแม่  พ่อและแม่จะทำการขอขมาต่อคุณตาคุณยาย และโฎนตาตามลำดับ แล้วพากันแซนโฎนตาสรุปรอบสุดท้ายของที่บ้าน   พ่อกับแม่และลูก ๆ ช่วยกันทบทวนชื่อเสียงเรียงนามของบรรพบุรุษทั้งหมด  เรียกซ้ำกรวดซ้ำ ๓ หน   ให้ตายายผัดเปลี่ยนสวมใส่เสื้อผ้าผืนใหม่เตรียมตัวไปรับศีลรับพรที่วัดค่ำนี้     ทั้งบอกลูก ๆ ให้เข้าใจและช่วยกันกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้อย่างถูกต้องถูกวิธีบุญกุศลจะส่งถึงโฎนตาจริง ประกอบกับโฎนตามีจิตเป็นสัมมาทิฏฐิจึงรับอนุโมทนาบุญได้โดยสะดวก      ด้วยคำว่า   แซนขม็อจกะไม๊ยซร็อจซรา    แซนโฎนตาอ็อย ซร็อจตึกโดง   ถึงที่สุดก็เรียกถึงผีบรรพบุรุษที่ไม่รู้จัก เรียกรวม เรียกรวบ เรียกทั้งกลุ่ม เรียกตามประเภท  สุดท้ายจัดห่อข้าวปลาอาหารใส่กระทงใบตอง จัดไว้เป็น ๒ ส่วน ส่วนที่ ๑ โยนปจีไปนอกเรือนชาน หรือนำไปวางไว้ตามถนนหนทาง มีทางแพร่ง ทางสามแยกบ้าง ทางสี่แยกบ้าง  ส่วนที่ ๒ ใส่ไว้ในกระเฌอโฎนตา      ทั้ง ๒ ส่วนนี้ทำให้เพื่อฝาก เพื่อแจกแบ่งให้ทั่วถึงผีเปรตวิญญาณเร่ร่อน ผีเปรตพิกลพิการ ผีเปรตหูหนวกตาบอด เนียะควะขะเม็น กะจอก กูดงัวผีเปรตขี้อาย  ผีเปรตที่ไม่ใช่ญาติ  ผีเปรตไม่มีญาติ   มาไม่ได้  มาไม่ถึง  มาไม่ทัน  ไม่กล้ามา   ไม่กล้าเข้าเรือน

หลังแซนอุทิศโฎนตาแล้วพ่อแม่ก็ขอพรจากโฎนตาให้พี่น้องลูกหลานปราศจากทุกข์ โศก โรค  ภัย โทษ อันตราย สิ่งไม่พึงปรารถนาทั้งปวง ขอให้ครอบครัวพี่น้องลูกหลานได้ประสบสุขประสบโชค อยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน  หลังจากนั้นช่วยกันรื้อจัดเก็บสถานที่   เตรียมพร้อมไว้แต่กระเจอโฎนตา

นำกระเฌอโฎนตาไปวัด ฟังพระสวดมนต์อุทิศบุญกุศล ดาหรือบังสุกุลในยามค่ำคืน ช่วงจบแต่ละบทสวด ซึ่งมีหลายตอน ก็เรียกโฎนตาด้วยเสียงดัง ๆ และยกน้ำมะพร้าวกรวดน้ำให้ เป็นช่วง ๆ เสร็จแล้วกลับไปบ้าน   แล้วรีบลุกขึ้นใหม่แต่ดึกประมาณหน่อยตี ๔ พร้อมบายเบ็ณ  ไปวัดฟังพระสวดมนต์อุทิศ ดาหรือบังสุกุลอีกรอบทำเหมือนกับตอนเย็น  ก่อนที่จะรุ่งสางจะเอากระเฌอโฎนตาไปเทในสถานที่ใกล้ตอไม้ หรือที่เหมาะสม เพื่อผีเปรตวิญญาณเร่ร่อน ผีเปรตไม่มีเสื้อผ้าสวมใส่  ผีเปรตขี้อาย  ผีเปรตที่ไม่ใช่ญาติ  ผีเปรตไม่มีญาติ   มาไม่ถึง  มาไม่ทัน  ไม่กล้ามา   ไม่กล้าเข้ากลุ่ม มารับเอาได้ แล้วเอากลับไป   การจะกระเจอโฎนตาคือ การส่งวิญญาณเปรตกลับภพภูมิ

บุญสุดท้ายแห่งเทศกาล คือ การไปวัดทำบุญตักบาตร วันเบ็ณทม  จัดถือข้าวปลาอาหาร ข้าวต้ม   ขนมนมเนย ทำบุญถวายพระ    และมีการจดชื่อบรรพบุรุษ และผู้ล่วงลับดับชีวิตไปก่อนเพื่อทำบุญอุทิศ  สวดดา  อีกครั้ง เป็นครั้งสุดท้ายของเทศกาลเบ็ณทม

เทศกาลเบ็ณทม และการแซนโฎนตา เป็นการกระทำเพื่อการอุทิศบุญกุศลให้บรรพบุรุษอย่างมีศรัทธา มีความเชื่อ  ความรักความเมตตาปราณีต่อผีเปรตวิญญาณอื่น ๆ  อย่างจริงใจ  บริสุทธิ์ใจ   อุทิศส่วนบุญให้อย่างกว้างขวาง  ทั่วถึง ทุกระดับชนชั้น  ทุกประเภท และมีคุณค่าทางสังคม ทางชุมชน ทางครอบครัว เพราะมีการแลกเปลี่ยน  การแบ่งปัน การดูแลเอาใจใส่กัน  การไปมาหาสู่กัน การขอขมาลาโทษซึ่งกันและกัน บ้านใดเรือนใดทำการแซนโฎนตาได้อย่างถูกต้องและต่อเนื่องทุกปี   จะเป็นบ้านที่มีหมู่ญาติลูกหลานและคนนับถือเป็นที่รักจำนวนมาก    จะเพิ่มพูนฐานะทางสังคม    จะเพิ่มพูนคุณธรรม    จะเพิ่มพูนความสงบสุขร่มเย็นต่อเนื่องไป

 

กันซง

                กิจกรรมและพิธีกรรม ที่มีการจัดสะปวกไปถวายพระ  ทำกระต็วงบายดา    ทำบายเบิ๊ดตะโบ     ตักบาตร  ถือน้ำขวดกรวดน้ำสะอาด  ทำขนม  ห่อข้าวต้ม  ฉล็องซง   ไปวัด และไปแต่เช้า ๆ ทุกวัน ตลอด  ๖ วัน  เริ่มตั้งแต่วันแรม  ๙ ค่ำ  ถึง   แรม ๑๔  ค่ำ  รวมวันพระแรม ๘ ค่ำด้วย เป็น ๗  วัน

กันต็วงบายดา ( กระทงข้าว)

                กระทงเย็บด้วยใบตอง   ใส่ข้าวพร้อมกับแกงและเงินเหรียญ   เอากรวยใบตวง ครอบกระทงข้าว ปักธูป ๑ ดอก กลางกรวย   เป็นอาหารที่จัดแบ่งไว้เซ่นอุทิศให้ผู้ตาย  ใช้ประกอบพิธีการสวดดา เปลี่ยนกระทงใบใหม่ทุกวัน ใช้ประกอบพิธี ตั้งแต่วันแรม ๑๑ ค่ำ ถึง วันแรม ๑๕ ค่ำ  รวม ๕ เช้า  นำไปพร้อมกับบายเบิ๊ดตะโบ และบายเบ็ณ หรือนำไปพร้อมกันซง ( แต่ละพื้นที่ยังต่างกัน)  ใส่ในกระเจอโฎนตาก็ใช่

สวดดา

                สวดดา  คือ การสวดมนต์บทต่าง ๆ ที่ใช้ในงานอวมงคล เกี่ยวกับงานศพ งานทำบุญอุทิศ หรือบังสุกุล และมีการจัดทำกระต็วงบายดา หรือ บายเบิ๊ดตะโบ หรือ บายเบ็ณ  ประกอบไว้ด้วย  ตลอดเทศกาลเบ็นทมจะสวดจำนวน    ครั้ง คือ เช้ามืด วันแรม ๑๑ ค่ำ ถึง วันแรม ๑๕ ค่ำ  ค่ำวันแรม ๑๔ ค่ำ และ เช้าวันพระเบ็ณทม ( เวลาและจำนวน มีการเปลี่ยนแปลงตามแต่ละพื้นที่)

บายเบิ๊ดตะโบ

                ข้าวเหนียวหุง   ปั้นเป็นก้อนขนาดใหญ่หัวแม่มือเล็กน้อย จัดเรียงต่อ ๆ กันไว้ในพานเป็นเนินข้าว  โรยงาบด ปิดด้วยกรวยใบตอง ปักธูป ๑ ดอก  นำไปวัดรอบแรกแต่เช้ามืดทุกเช้า เพื่อนิมนต์พระสงฆ์สวดดา นำไปพร้อมกระต็วงบายดา  อุทิศบุญแล้วกลับมาบ้าน   เริ่มวัน แรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๑๐  วัน แรม ๑๔ ค่ำเดือน ๑๐   จำนวน ๔ เช้า/วัน     

ห่อข้าวต้ม ทำขนมฉล็องซง

                วันแรม  ๑๓  ค่ำเดือน ๑๐

เจริญพระพุทธมนต์ฉล็องซง

                ค่ำคืนวันแรม  ๑๓  ค่ำเดือน ๑๐

ฉล็องซง

                เช้าวันแรม  ๑๔   ค่ำเดือน  ๑๐

จูนโฎนตา / จูนเบ็ณ

                จูน ตรงกับคำว่า ส่ง   มีความหมายว่า เอาไปส่ง , เอาส่งให้ ,เอาไปส่งให้   หมายถึง การที่ลูกหลาน เขย สะใภ้ นำสิ่งของ ของกิน ของใช้ เงินทอง เสื้อผ้า มอบให้หรือบูชาคุณพ่อคุณแม่    เป็นเหตุให้มีการหยุดงาน ลางาน เพื่อกลับเยี่ยมบ้าน ไหว้พ่อแม่  ไหว้ตายาย  พบปะพี่น้องลูกหลาน  ทานข้าวร่วมกัน  ทำบุญร่วมกัน    ทำกันได้ตลอดเทศกาลเบ็ณทม  กระทำกันก่อนวันหรือในวันแซนโฎนตาก็ใช้ได้

กร็านบ็อน กร็านปูก กร็านเท็ดซอ  เรียบเขนย

                เวลา เช้าก่อนจะทำสิ่งอื่น  ในวันแรม  ๑๔  ค่ำเดือน  ๑๐

เรียบกระเฌอโฎนตา 

                หาของป่า  เมล็ดพันธุ์   พันธุ์พืช    พันธุ์ผักสวนครัวต่าง ๆ  อาหาร ขนม ข้าวต้ม ของใช้อื่น ๆ   หามาใส่กระเจอโฎนตา หาใส่ได้เรื่อย ๆ ทั้งวัน    ของป่า ๒ อย่าง มีสมอและมะขามป้อม  เมล็ดพันธุ์ เช่น พันธุ์ข้าว  พันธุ์แตง ถั่ว งา ต่าง ๆ  พันธุ์พืช เช่น อ้อย    พันธุ์ผักสวนครัว เช่น ตะไคร้ ขิง ข่า กระชาย ตระเพรา โหระพา  ใช้ขยายพันธุ์หรือประกอบอาหาร  เช่น  พริก  หอม กระเทียม ผักประกอบอาหาร เช่น ฝัก แฝง แตง    ของใช้อื่น ๆ เช่น สบู่ ผงซักฟอก น้ำยาล้างจาน  เงิน

เรียบตะต็วล ( จัดสำรับไว้ต้อนรับ)

                ต้อนรับด้วยข้าวปลาอาหารหวานคาว และน้ำดื่มสะอาด จัดสำรับที่บ้าน เรียกหมู่ญาติที่รู้จักและไม่รู้จัก

เรียบซะแนน หรือ เรียบซะปวก ( สำรับ)

                สำรับ ที่จัดใส่อาหารหวานคาว และน้ำดื่มสะอาด  จัดผลไม้ด้วยเป็นความนิยมใหม่  จัดไว้เป็นชุด  ซะแนน นับเป็นเครื่องเซ่นไหว้  มีไว้ให้  ให้แบบทิ้งขว้างได้      ส่วนซะปวก  ถือเป็นสำรับที่ให้การต้อนรับอย่างมีเกียรติ  และบูชาคุณ      ซะปวก เป็นได้ทั้งคำนาม และลักษณะนาม

ห่อข้าวต้มเบ็ณทม

                วันแรม ๑๔ ค่ำเดือน ๑๐   หลังจากกลับจากการฉล็องซงแล้ว

แซนโฎนตา

                วันแรม ๑๔ ค่ำเดือน ๑๐   ใช้  โดงเลา  น้ำมะพร้าวบริสุทธิ์

สวดกระเฌอโฎนตา

                ค่ำคืนวันแรม ๑๔  ค่ำ เดือน ๑๐

บายเบ็ณ

                ข้าวเหนียวหุง   ปั้นเป็นก้อนขนาดใหญ่หัวแม่มือเล็กน้อย จัดเรียงต่อ ๆ กันไว้ในพานเป็นเนินข้าว  โรยงาบด ปิดด้วยกรวยใบตอง ปักธูป ๑ ดอก  นำไปวัดรอบแรกแต่เช้ามืดวันสุดท้าย เพื่อนิมนต์พระสงฆ์สวดดา นำไปพร้อมกระต็วงบายดา  อุทิศบุญแล้วจะกระเฌอโฎนตา ในแรม ๑๔ ค่ำเดือน ๑๐   จำนวน ๑ ครั้ง     

 

บายสะบะแซร / สะบะซร็อว ( เอาข้าวที่ผ่านพิธีกรรมไปหว่านลงในนาข้าว )

                ข้าวเหนียวที่ปั้นเป็นก้อน ๆ บายเบิ๊ดตะโบก บายเบ็ณ  ที่ผ่านการสวดดาที่วัดในช่วงเช้ามืดทุกเช้าแล้วนั้น เป็นข้าวที่โฎนตาได้ให้พรแล้ว เป็นสิ่งมงคล   ก็นำกลับมาโปรย มาหว่านในนาข้าว ด้วยความปรารถนาให้ข้าวสวยงาม  ไม่เป็นโรค ให้ออกดอก ใส่เม็ดเต็มเม็ดเต็มหน่วย  หรือนำไปโปรยในสวน ด้วยความปรารถนาดีต่อพืชพันธุ์ธัญญาหารเจริญงอกงามเติบโต แข็งแรง  เมื่อปรารถนาดีในสิ่งใด ๆ ก็หว่านลงในที่นั้น     เป็นกำลังใจในการทำมาหากิน

 

สาระ/หลักคิดเพื่อปัญญา

การเซ่น      กลุ่ม / ระดับ

                แซนโฎนตา บูชาบรรพบุรุษ   กลุ่ม/ระดับที่    เป็นบรรพบุรุษ ต้นตระกูล  ปู่ย่า  ตายาย   บุคคลที่เคารพบูชาในตระกูล  ญาติที่ล่วงลับชีวิตก่อน  ประกอบพิธีเซ่นบนบ้าน  จัดตกแต่งสถานที่ จัดสิ่งของเซ่นไหว้อย่างครบครัน  ข้าวปลาอาหารของหวาน ของคาว ขนมนมเนย  ผลหมากรากไม้  เสื้อผ้าอาภรณ์   จัดอย่างสวยงาม    อลังการ   ใช้ภาชนะจาน  ชาม   ถาด อย่างดี หรือมีการจัดทำที่วัดเป็นพิธีที่งดงามเรียบร้อย     การเซ่นไหว้แบบนี้จัดเป็นการไหว้ผีบรรพบุรุษ ยกย่องประกาศคุณให้การบูชา ให้เกียรติในฐานะบรรพบุรุษ จัดเป็นบุคคลที่ควรบูชา   และ จัดเป็น ปุพพเปตพลี  ทำบุญอุทิศให้ผู้ตาย

                แซนขม็อจ     กลุ่ม/ระดับที่ ๒   ผีบ้านผีเรือน รุกขเทวา  นางไม้  นางตานี นางตะเคียน ผีต้นเสา   เจ้าที่เจ้าทาง  เจ้าป่าเจ้าเขา  ภูมเทวา สิงอยู่จอมปลวก ตามพื้นดิน เป็นเทวดาชั้นต่ำสุด   คือชั้นจาตุมมหาราชิกา ประกอบพิธีเซ่นด้วยการจัดใส่กระทงใบตอง วางนอกบ้านข้างล่างชั้นพื้นดิน การเซ่นวิธีนี้จัดเป็น เทวตาพลี ทำบุญอุทิศให้เทวดา

                ปจีขม็อจ / จะกระเจอโฎนตา    กลุ่ม/ระดับ ที่ ๓   ผีไร้ญาติ    ผีเปรต    ผีอนาถา  อสุกายขี้อาย  ผีพเนจร    สัมภเวสี  เร่ร่อนยังไม่ไปผุดไปเกิด   เข้ากลุ่มไม่ได้   ขึ้นเรือนไม่ได้    ที่จัดไว้ในส่วนปรทัตตูปชีวีเปรต  สามารถรับส่วนบุญที่อุทิศให้ได้   จัดเป็น ปุพพเปตพลี  ทำบุญอุทิศให้ผู้ตาย  และประกอบพิธีเซ่นด้วยการแบ่งอาหารที่เหลือจากการเซ่นกลุ่มที่ ๑ และ ๒    จัดห่อไปวางไว้  การโยนให้   โปรยให้  นอกบริเวณบ้าน  ทางแพร่ง  ตามทางสามแยก  ทางสี่แยก   หรือจัดพิธีให้เฉพาะเช่นจัดที่วัด  มีการเทกระเฌอโฎนตาก่อนรุ่งสาง 

 

จุดเน้นเพื่อความถูกต้อง

บูชาบรรพบุรุษด้วยน้ำดื่มสะอาด น้ำบริสุทธิ์   คือ น้ำเปล่าและ น้ำมะพร้าว  โดงเลา  น้ำมะพร้าวบริสุทธิ์

  แซนโฎนตาเป็นกลยุทธ์การส่งเสริมคุณธรรมครอบครัว   เกิดกระบวนการที่งดงามมาพร้อมกับกับแซนโฎนตา

วิธีการ ขั้นตอน รูปแบบ แต่ละพื้นที่อาจแตกต่างกันได้ หรือปรับเปลี่ยนกันได้เพื่อความเหมาะสม เพื่อการพัฒนา     แต่หลักธรรม  หลักการ  กระบวนการ  วัตถุประสงค์   หลักคิด  แนวคิดความเชื่อศรัทธาต้องเป็นอันเดียวกัน

 

โพสท์ใน หนังสือ | ใส่ความเห็น