ประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ยายจรูก 2

เหตุการณ์/ภูมิหลัง /สังคม /วัฒนธรรม  เพื่อการเปรียบเทียบ

 

พ.ศ. ๑๒๒๐           ตั้งวัดพระชีบัวแก้ว  ต.หนองใหญ่  อ.ปราสาท  จ.สุรินทร์

พ.ศ. ๑๕๐๐ ๑๘๐๐   ยุคนคร  ( อังกอร์ ) สร้างปราสาทต่าง ๆ เช่น ปราสาทพนมรุ้ง  ปราสาท พิมาย  ปราสาทบ้านพลวง   ปราสาทศีขรภูมิ   

พ.ศ. ๑๗๘๑            สถาปนาอาณาจักรสุโขทัย

พ.ศ. ๑๘๙๓            สถาปนากรุงศรีอยุธยา  เป็นราชธานี

พ.ศ. ๑๙๐๐               เมืองสุรินทร์ เป็นหัวเมืองที่ขึ้นต่อศูนย์กลางอำนาจขอมเมืองพิมาย     เพราะสัมพันธไมตรีอันแนบแน่นระหว่างสุโขทัยกับพิมาย ทำให้ทั้งสองเมืองไม่มีกรณีพิพาทรบพุ่งกัน ดินแดนแคว้นพิมายอันรวมถึงสุรินทร์ด้วยจึงอยู่อย่างสงบ    หลักฐานเป็นจารึกพบที่พิมายระบุว่า เจ้าผู้ครองสุโขทัยรัชกาลแรกมีศักดิ์เป็นราชบุตรเขยของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ 

พ.ศ. ๑๙๐๐ – ๒๓๐๐   เมืองสุรินทร์เป็นเมืองในป่า( เขมรป่าดง) ปลอดจากการรบกวนของกองกำลังภายนอกและการเกณฑ์แรงงานเข้าเดือน  เป็นช่วงที่มีการอพยพของกลุ่มชนชาติพันธุ์ต่าง ๆ   เมืองในป่าที่เต็มไปด้วยการอพยพเข้า

พ.ศ. ๑๙๒๕           คริสโตเฟอร์   โคลัมบัส  ค้นพบอเมริกา  ( ค.ศ. ๑๔๙๒  )

พ.ศ. ๑๙๘๑            สิ้นสุดของอาณาจักรสุโขทัย

พ.ศ. ๒๑๐๐             ตั้งวัดปราสาทบ้านจารย์ ต.บ้านจารย์  อ.สังขะ  จ.สุรินทร์

พ.ศ. ๒๒๐๐           เมืองสุรินทร์ ยังเป็นหัวเมืองที่ขึ้นต่อศูนย์กลางอำนาจขอมเมืองพิมาย

พ.ศ. ๒๒๑๘          ตั้งวัดแจ้งสง่างาม  ตำบลไพล  อำเภอปราสาท จ.สุรินทร์

พ.ศ. ๒๒๗๒         ตั้งวัดอาวุธยุทธยาราม  บ.อาวุธ    ต.แตล  อ.ศีขรภูมิ  จ.สุรินทร์ 

พ.ศ. ๒๒๙๙           สร้างวัดกลาง    เมืองสังขะ  จ.สุรินทร์

พ.ศ. ๒๓๐๐           สร้างวัดเกตุวราราม  ณ บ้านสำโรงทาบ  อ.สำโรงทาบ   จ.สุรินทร์  

พ.ศ. ๒๓๐๐           ตั้งวัดเต่าทอง  ต.สะกาด  อ.สังขะ  จ.สุรินทร์

พ.ศ. ๒๓๐๐           บ้านตาเจียด  ป่าโคกมะสุด ( ขนายตำแร็จ)  ต.ทุ่งมน  เป็นสถานที่เลี้ยงช้าง  ของชนพื้นเมืองสายตระกูลข่า

พ.ศ. ๒๓๐๒          ในสมัยเมืองพิมายเป็นหัวเมืองชั้นเอก ดูแลเขตขันธสีมาหัวเมืองลาวและเขมรป่าดง   ช้างเผือกเชือกสำคัญสลัดโซ่หนีจากโรงช้างหลวงกรุงศีอยุธยา  มาที่สุรินทร์  ผู้นำ ๖ ท่าน( เชียงปุม , ตากะจะ , เชียงขัน, เชียงฆะ, เชียงสี, เชียงไชย) ช่วยกับจับช้างส่งกลับคืน

พ.ศ. ๒๓๐๓          สร้างวัดศรีลำยอง  สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย

พ.ศ. ๒๓๐๔          ตั้งวัดปราสาททอง  ต.ปราสาททอง อ.เขวาสินรินทร์ จ.สุรินทร์

พ.ศ.  ๒๓๐๖         หลวงสุรินทรภักดี (เชียงปุม) ซึ่งเดิมเป็นหัวหน้าหมู่บ้านเมืองที ได้ขอให้เจ้าเมืองพิมายกราบบังคมทูลขอพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จากพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยามรินทร์ ย้ายหมู่บ้านจากบ้านเมืองที มาตั้งอยู่บริเวณบ้านคูประทาย บริเวณซึ่งเป็นที่ตั้งเมืองสุรินทร์ในปัจจุบันนี้ เนื่องจากเห็นว่าเป็นบริเวณที่มีชัยภูมิเหมาะสม มีกำแพงค่ายคูล้อมรอบ ๒ ชั้น มีน้ำอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การประกอบอาชีพและอยู่อาศัย ต่อมาหลวงสุรินทรภักดีได้กระทำความดีความชอบเป็นที่โปรดปราน จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านคูประทายเป็น เมืองประทายสมันต์และเลื่อนบรรดาศักดิ์หลวงสุรินทรภักดี เป็นพระสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวาง ให้เป็นเจ้าเมืองปกครอง

พ.ศ. ๒๓๐๖          สร้างวัดกลาง ในตัวเมืองสุรินทร์    เป็นศูนย์ราชการ และ เคยเป็นสถานที่ถือน้ำพิพัฒน์สัตยา

พ.ศ. ๒๓๑๐           กรุงศรีอยุธยาแตก  เสียกรุงแก่พม่า

พ.ศ. ๒๓๑๐           พระยาตากสินมหาราช สถาปนากรุงธนบุรี   

พ.ศ. ๒๓๑๑           ตั้งวัดเหนือ  ต.รัตนบุรี  อ.รัตนบุรี  จ.สุรินทร์

พ.ศ. ๒๓๑๑         พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกในสมัยพระเจ้าตากสิน          ได้รับราชการมีฐานันดรศักดิ์เป็น       พระราชวรินทร์ ( กรมพระตำรวจหลวง ) เมื่อเสร็จศึกในการปราบชุมนุมพิมาย ได้เลื่อนขึ้นเป็น พระยาอภัยรณฤทธิ์
พ.ศ. ๒๓๑๙      พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเป็นแม่ทัพไปตีเขมรป่าดง ( สุรินทร์ ขุขันธ์ สังขะ ) แคว้นลาวทางใต้ ได้เมืองจำปาศักดิ์ สีทันดร อัตตะปือ เสร็จศึกได้เลื่อนขึ้นเป็น สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก

พ.ศ. ๒๓๑๙         พื้นที่ทุ่งมนเป็นเส้นทางผ่านของกองทัพกรุงธนบุรี (สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก) ที่เข้ามาปราบ 

พ.ศ. ๒๓๑๙          ตั้งวัดนรนิวาสราษฎร์สามัคคี ต.ขอนแตก  อ.สังขะ  จ.สุรินทร์

พ.ศ. ๒๓๑๙         ตั้งวัดสง่างาม ต.คอโค  อ.เมือง จ.สุรินทร์

พ.ศ. ๒๓๒๐         ตั้งวัดโนนรัง  บ.โนนสูง  ต.บะ  อ.ท่าตูม  จ.สุรินทร์

พ.ศ. ๒๓๒๐         ตั้งวัดโพธิพฤษาราม     บ้านพงสวาย   ต. ท่าตูม  อ.ท่าตูม  จ.สุรินทร์

พ.ศ. ๒๓๒๐         ประมาณว่า เป็นปีเกิดของยายจรูก   เกิดที่เวียงจันทร์   ในครอบครัวเจ้าคนนายคน เชื้อสายเจ้าขุนมูลนาย

พ.ศ. ๒๓๒๑           พระวรราชภักดีและพระตา  ได้หนีปัญหาความวุ่นวายที่เวียงจันทร์พร้อมไพร่พลจำนวนหนึ่งเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารอยู่ที่บ้านหนองบัวลุ่มภู  คือที่เป็นจังหวัดหนองบัวลำภูปัจจุบัน  พระเจ้าศิริบุญสารแห่งเวียงจันทร์ถือว่าเป็นการหมิ่นพระเกียรติและคิดการกบถ  จึงยกทัพตามมาปราบ  ในการต่อสู้ครั้งสุดท้าย  พระวรราชภักดีเสียทีจนต้องสูญเสียพระตาผู้พี่ชายในสนามรบ  จึงถอยทัพและนำกำลังพลพร้อมครอบครัวอพยพลงมาทางใต้        มาลงเรือที่เมืองสุรพินนิคม       ( ท่าตูม)   ไปขึ้นฝังที่อุบลราชธานี  พร้อมกับมีหนังสือถึงเจ้าเมืองจำปาศักดิ์เพื่อขอลี้ภัย 

พ.ศ. ๒๓๒๑            เจ้าเวียงจันทร์คิดข่มเหงราษฎร  บ้านเมืองได้รับความเดือดร้อน  สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงได้ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกและเจ้าพระยาสุรสีห์เป็นแม่ทัพหลวง      ยกกำลังขึ้นมาทางพิมายแต่งข้าหลวงออกมาเกณฑ์กำลังคูปะทาย  เมืองสังขะ  และเมืองรัตนบุรีเป็นทัพหน้า   ยกล้อมเมืองเวียงจันทร์ ได้ทำการรบพุ่งเป็นสามารถ  เมืองจันทร์ยอมแพ้ขึ้นต่อกรุงธนบุรี 

พ.ศ. ๒๓๒๑              พื้นที่ทุ่งมนเป็นเส้นทางผ่านของกองทัพกรุงธนบุรี และเกณฑ์คนไปรบที่เวียงจันทร์

พ.ศ. ๒๓๒๒      ประมาณว่าครอบครัวยายจรูก ซึ่งขณะนั้นท่านมีอายุ ๒ ขวบ ได้อพยพสู่พื้นที่จังหวัดสุรินทร์ที่ใดที่หนึ่ง  ประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์    การค้าขาย         มีข้าทาส บริวารับใช้   และมีความใกล้ชิดกับระบบการปกครองในพื้นที่

พ.ศ. ๒๓๒๒             ตั้งวัดโพธิ์ศรีธาตุ  ต.ธาตุ  อ.รัตนบุรี จ.สุรินทร์

พ.ศ. ๒๓๒๕ ( ร.๑)   สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์  ร.๑  ขึ้นครองราชย์  เป็นต้นพระบรมราชวงศ์จักรี

พ.ศ. ๒๓๒๕  ( ร.๑)  ตั้งวัดชูประศาสนาราม  ต.ยาง อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์

พ.ศ. ๒๓๒๕  ( ร.๑)  ตั้งวัดเทพนิมิต ต.กระออม   อ. สำโรงทาบ จ.สุรินทร์

พ.ศ. ๒๓๒๙ ( ร.๑ )   พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเมืองประทายสมันต์เป็น เมืองสุรินทร์ตามสร้อยบรรดาศักดิ์ของเจ้าเมือง

ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑    ทรงจัดการปกครองหัวเมืองทางแผ่นดินสูงตอนริมแม่น้ำโขง      เป็นประเทศราช ๓ เมือง คือ เมืองเวียงจันทร์   เมืองนครพนม   และเมืองนครจำปาศักดิ์   และให้เมืองนครราชสีมา ปกครองเมืองเขมรป่าดง และเมืองดอนที่ไม่ขึ้นต่อ ประเทศราช ทั้ง ๓     นครราชสีมาเป็นเมืองเอก

พ.ศ. ๒๓๓๐  (ร.๑)   ประมาณว่า  ยายจรูกอายุ ๑๐  ปี  รับผิดชอบตนเองได้ดี  มีภาวะผู้นำ    ฝึกการขี่ม้า ฝึกการรบ   และช่วยงานครอบครัว   เรียนรู้ทั่วไป  ได้รู้จักกับเจ้าเมือง หรือเจ้าขุนมูลนายบ้างตามโอกาส

พ.ศ. ๒๓๓๐   (ร.๑)  ตั้งวัดโพธิ์ศรีไกลเสนียด  ต.หนองบัว  ต.ท่าตูม   จ.สุรินทร์

พ.ศ. ๒๓๓๔   (ร.๑)   ตั้งวัดแจ้ง ณ บ้านแก ต.แก อ.รัตนบุรี  จ.สุรินทร์ หลวงพ่อหลักคำ  เป็นผู้นำในการสร้าง

พ.ศ. ๒๓๓๔   (ร.๑)  ตั้งวัดโพธาราม  ต.สังขะ  อ.สังขะ  จ.สุรินทร์

พ.ศ. ๒๓๓๖  ( ร.๑)  ตั้งวัดมูลานิเวศน์  ต.ท่าสว่าง  อ.เมือง จ.สุรินทร์

พ.ศ. ๒๕๓๘ (ร.๑)    ประมาณว่า ยายจรูก มีอายุ ๑๘ ปี  ก็ได้แต่งงานกับตาสู   ทหารหรือตำรวจบ้าน  หรือ ผู้นำชุมชน  แล้วออกเรือนทำมาหากินสร้างฐานะครอบครัว  อาศัยอยู่ที่บ้านทุ่งมน

พ.ศ. ๒๓๔๐   (ร.๑)  ตั้งวัดโพธิ์ศรีวิเวก  ต.บะ  ต.ท่าตูม  จ.สุรินทร์

พ.ศ. ๒๓๔๐  (ร.๑)  ตั้งวัดหมื่นศรีใหญ่   ต.หมื่นศรี  อ.สำโรงทาบ  จ.สุรินทร์

พ.ศ. ๒๓๔๑   (ร.๑)   ทุ่งมนเป็นเส้นทางผ่านและเกณฑ์กำลังพลเป็นทหารของพระยาสุรินทรภักดีศรีณรงค์(แต็ย) เจ้าเมืองคนที่ ๒ ไปช่วยทัพหลวงที่เมืองเชียงใหม่แต่กลับไปกรุงเทพแทน

พ.ศ. ๒๓๔๒  (ร.๑)   ตั้งวัดเพชรบุรี  ต.สมุด  อ.ปราสาท  จ.สุรินทร์

พ.ศ. ๒๓๔๓ (ร.๑)    ตั้งวัดสว่างบ้านผือ  ต.รัตนบุรี อ.รัตนบุรี  จ.สุรินทร์ 

พ.ศ. ๒๓๔๕  (ร.๑)   ตั้งวัดปทุมทอง ต.ท่าตูม  อ.ท่าตูม  จ.สุรินทร์

พ.ศ. ๒๓๔๔ (ร.๑)   ตั้งวัดสว่างอารมณ์  บ.นาแห้ว   ต. สวาย    อ.เมือง จ.สุรินทร์

พ.ศ. ๒๓๔๕  (ร.๑)   ตั้งวัดปทุมศิลาวารี   ต.ท่าตูม  อ.ท่าตูม  จ.สุรินทร์

พ.ศ. ๒๓๔๕ (ร.๑)   ตั้งวัดอัมพาวารินทร์  ต. หนองบัว   อ. ท่าตูม จ.สุรินทร์

พ.ศ. ๒๓๔๗  ( ร.๑)  เกิดสงครามโลกครั้งที่ ๑  ( ๒๘ มิ.ย. )

พ.ศ. ๒๓๔๘  (ร.๑)    ลูกทาสเกิดในเรือนเบี้ย  สามารถไถ่ตัวเองได้

พ.ศ. ๒๓๔๘ ( ร.๑)    ทาสเชลยสามารถไถ่ตัวเองได้ /   เกิดกฎหมายตรา ๓  ดวง

พ.ศ. ๒๓๔๙  ( ร.๑)   ตั้งวัดจุมพลสุทธาวาส ในตัวเมือง    จ.สุรินทร์

พ.ศ. ๒๓๕๑ ( ร.๑)    สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ ๑     (  ๑๑  พ.ย. )

พ.ศ. ๒๓๕๒  (ร.๑)   สิ้นสุดสมัยรัชกาลที่ ๑  เสด็จสวรรคต ๗ กันยายน  ๒๓๕๒

พ.ศ. ๒๓๕๖  ( ร.๒)  ตั้งวัดใต้บูรพารา  ต.รัตนบุรี อ.รัตนบุรี จ.สุรินทร์

พ.ศ. ๒๓๖๐  (ร.๒)   ประมาณว่า  ยายจรูก ซึ่งเป็นชื่อที่ชาวบ้านเรียกขานกันนั้น  มีอายุแล้วได้   ๔๐  ปี    แต่งงานมาแล้ว  ๒๒    ปี  มีบุตร ๕ คน   คนโต อายุ  ๑๖   ขวบ   คนเล็กสุดอายุ     ขวบ  มีการบริหารจัดการด้วยตนเองได้อย่างดี  ฐานะร่ำรวย มีฝูงวัว  มีที่ดินจำนวนมาก  มีกองคาราวานขนเกลือ มีการค้าขายระหว่างเมือง  มีที่นาพอเลี้ยงครอบครัวและบริวาร   เป็นนายเงิน  เป็นคหบดี  เป็นผู้สื่อสารกับเจ้าเมือง  เป็นผู้เก็บส่วย   เป็นผู้นำที่กล้าหาญ มี ข้าทาสบริวารรับใช้จำนวนมาก  เดินทางด้วยการขี่ม้า

พ.ศ. ๒๓๖๐  ( ร.๒)   ยายจรูกพร้อมครอบครัว และบริวารสร้างวัดอุทุมพร

เกี่ยวกับ weerasadao

ทำงานสวัสดิการชุมชน
ข้อความนี้ถูกเขียนใน ท่องเที่ยว คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

2 ตอบกลับที่ ประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ยายจรูก 2

  1. วรวรรณ พูดว่า:

    ขอบคุณนะ

  2. บุรวี พูดว่า:

    เเล้วประวัติศาสร่วมสมัยมันคืออะไร

ใส่ความเห็น